ธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ต
ธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ต
สองสามปีให้หลัง "เครือข่ายอินเตอร์เน็ต" เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ธุรกิจต้องอาศัยความรวดเร็วในการค้าขาย เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายต่อลูกค้า นิสิตนักศึกษาต้องการความรู้มากกว่าข้อมูลภายในห้องสมุดและต้องการความบันเทิงจากการสนทนาหาเพื่อนทั่วโลก ดังนั้น จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่าตามหัวมุมถนน ริมถนนใหญ่ หน้าสถานศึกษาหรือแหล่งท่องเที่ยวทั่วไปจะกลายเป็นสถานที่ที่ถูกเลือกเพื่อจัดตั้งร้านอินเตอร์เน็ต
การบริการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์( E-Commerce ) คือการทำธุรกรรมบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบริการหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ รับส่ง E-mail ติดต่อกันข้ามประเทศ การสนทนา ( Chat ) หาเพื่อน หรือแม้แต่บริการเกม เป็นต้น ดังนั้นคำว่า " ร้านอินเตอร์เน็ต " จึงหมายถึงสถานที่ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตโดยคิดค่าตอบแทนจากบุคคลที่เข้าใช้อินเตอร์เน็ตตามระยะเวลา และอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้ในแต่ละแห่ง
อยากเป็นเจ้าของร้านอินเตอร์เน็ต…ต้องคำนึงถึงเรื่องใด
1. ศักยภาพของผู้ประกอบการ
• เป็นคนที่ทันเหตุการณ์และชอบแสวงหาสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา เช่น เจ้าของร้านควรรู้ข่าวสารโปรแกรมใหม่ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น รวมทั้งควรรู้ข่าวสารเรื่องลิขสิทธิ์โปรแกรมที่จะส่งผลกระทบต่อร้านด้วย
• เป็นคนกว้างขวาง ยิ่งเจ้าของร้านรู้จักคนมากเท่าใด ย่อมเป็นผลดีต่อธุรกิจมากขึ้นเท่านั้นไม่ว่าจากเพื่อนร่วมธุรกิจเดียวกัน จากร้านขายอุปกรณ์ที่ไปซื้อเป็นประจำ และจากกลุ่มลูกค้าเพราะคนเหล่านี้จะคอยบอกความเคลื่อนไหวในวงการเทคโนโลยีและสารสนเทศให้อย่างสม่ำเสมอ
• มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เพราะผู้ประกอบการจะสามารถเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพใช้งานได้นานและหากว่า คอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องเพียงเล็กน้อย ผู้ประกอบการก็สามารถซ่อมแซมได้เองโดยไม่จำเป็นต้องติดต่อช่าง การมีความรู้ด้านนี้บ้างจึงนับว่าเป็นการประหยัดทั้งเงินและเวลาอีกทั้งเจ้าของร้านยังอาจเป็นผู้ให้คำปรึกษา หรือสอนลูกค้าใช้โปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความประทับใจต่อลูกค้าที่เข้ามารับบริการ
• เป็นคนละเอียดรอบคอบ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องคุมค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด (ในกรณีที่ร้าน มีหุ้นส่วนมากกว่า 1 คน ผู้ร่วมหุ้นควรทำสัญญาร่วมกันให้ชัดเจนจะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง)
• ถ้าผู้ประกอบการเป็นเจ้าของสถานที่เอง ต้นทุนที่ผู้ประกอบการต้องเสียก็จะลดน้อยลง
2. การติดต่อกับหน่วยงานราชการ
โดยทั่วไปแล้ว กฎหมายกำหนดไว้ว่า ธุรกิจด้านบริการไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า( เว้นแต่ว่าภายในร้านจะมีการค้าขายอื่นๆ ด้วย ) แต่ปัจจุบันร้านให้บริการทางอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่มัก จะต้องจดทะเบียนไว้ เนื่องจากร้านมีการประกอบธุรกิจเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ควบคู่ไปด้วยอีกทั้งใบจดทะเบียน ดังกล่าวยังใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อหน้าเจ้าพนักงานของรัฐเมื่อมาตรวจสอบ
นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงคือ การซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมใช้งานทั่วไปและโปรแกรมเกมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งต้องขออนุญาตจากกองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติในกรณีที่ทางร้านให้เช่าแผ่นซีดีเกมคอมพิวเตอร์แก่ลูกค้าซึ่งรายละเอียดการติดต่อในแต่ละด้าน มีดังต่อไปนี้
การจดทะเบียนพาณิชย์
เอกสารที่ต้องเตรียม ( เฉพาะกรณีเจ้าของกิจการคนเดียว )
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
ขั้นตอนการดำเนินการ
ผู้ประกอบการต้องไปกรอกแบบฟอร์มขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการพร้อมกับยื่นเอกสารที่เตรียมไว้ และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนอีก 50 บาท ขั้นตอนนี้จะเสร็จภายในหนึ่งวัน
สำหรับสถานที่ที่สามารถยื่นขอจดทะเบียน ถ้าเป็นในเขตกรุงเทพมหานคร คือ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 7 แห่ง หรือโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลข 0-2547-5050 ( กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อ.เมือง จ.นนทบุรี ) ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดบุคคลที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.thairegistration.com/thai/serviceplace/detail4.phtml
การซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมใช้งานทั่วไปจากเจ้าของลิขสิทธิ์
การเปิดร้านอินเตอร์เน็ตถือเป็นอาชีพที่สุจริต แต่ผู้ประกอบการบางรายอาจทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้เพราะความรู้ด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ทำให้ร้านอินเตอร์เน็ตทั่วไปซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้ซื้อ License ( ไลเซ่น ) Licensing คือลิขสิทธิ์โปรแกรม (ซอฟท์แวร์ ) ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2537 ประเภทวรรณกรรมการทำซ้ำ ดัดแปลงเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน ตามกฎหมายร้านอินเตอร์เน็ตจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนจึงจะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
รูปแบบลิขสิทธิ์โปรแกรม
1. โปรแกรมที่มากับเครื่อง ( OEM ) คือโปรแกรมที่ทางผู้ขายติดตั้งมาให้เมื่อคุณซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่พร้อมโปรแกรม ส่วนมากจะเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ เช่น COMPAQ , IBM หรือ OEM แบบไม่มีกล่องบรรจุ (ไม่มีแพ็คกิ้ง) ซึ่งขายแยกให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบเอง ลิขสิทธิ์โปรแกรมที่ได้นั้นมักจะเป็นโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ ( Operation System ) เช่น Windows, NT Server, Windows98, Workstation เป็นต้น ผู้ซื้อจะได้รับแผ่นซีดีของทุกโปรแกรมที่ติดตั้งมา ตามหนังสือคู่มือการใช้งาน ใบCertification of Authenticity (ใบรับรองโปรแกรมว่าเป็นของแท้ ซึ่งจะอยู่ตรงหน้าปกหนังสือคู่มือการใช้งาน )
2. ชุดเต็ม (Full Packaged Product) ลิขสิทธิ์ชุดเต็มนี้สามารถซื้อตามร้านค้าปลีกที่เป็นตัวแทนจำหน่ายของไมโครซอฟท์ เช่น ร้านBookchest, IT-City, ไดโนเสาร์และChallenger สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงคือ 1 licenseต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องเท่านั้น และถ้าต้องการลงโปรแกรมเดียวกัน 3 เครื่องผู้ประกอบการก็ต้องซื้อลิขสิทธิ์ 3 license เป็นต้น
3. OPEN LICENSE คือการซื้อโปรแกรมเดียวกันเป็นชุด เช่น 5 ไลเซ่นขึ้นไป ราคาของโปรแกรมประเภทนี้ จะถูกกว่าแบบ OEM และแบบชุดเต็ม โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับร้านอินเตอร์เน็ตที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการจำนวนมาก เช่นซื้อโปรแกรม Officeลิขสิทธิ์ 10 ไลเซ่น ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ 10 เครื่อง ( การลงโปรแกรมเป็นแบบ 1 ไลเซ่นต่อ 1 เครื่องเช่นกัน)
การขออนุญาตจากกองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เมื่อผู้ประกอบการซื้อลิขสิทธิ์เกมแล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปคือ การขออนุญาตจากกองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งกำหนดให้ประเภทซีดีเกมจะต้องได้รับการพิจารณาก่อนนำเผยแพร่ต่อสาธารณชน ดังนั้นร้านอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการเกม และร้านเกมซึ่งให้ลูกค้าเช่าแผ่นซีดีเกมคอมพิวเตอร์ ควรดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
เอกสารที่ต้องเตรียม
- ภาพถ่ายร้านจำนวน 3 รูป ประกอบด้วย ภาพถ่ายภายหน้าร้านระยะไกล ระยะใกล้และภายในร้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด - สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
( ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเจ้าบ้านต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน อย่างละ 1 ชุดและลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง )
- รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 รูป
- ค่าธรรมเนียม 250 บาท
- หนังสือรับรองความประพฤติ ผู้ประกอบการสามารถขอแบบฟอร์มได้ที่กองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติหนังสือดังกล่าวต้องมีลายเซ็นของข้าราชการระดับ4 รับรองความประพฤติให้กับผู้ตั้งร้านรวมทั้งถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการของผู้รับรอง พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยในขั้นตอนนี้ผู้เป็นเจ้าของร้านต้องเสียค่าบริการงานเอกสาร 1,000 บาท แต่กรณีที่หาข้าราชการระดับ4 มาเซ็นต์รับรองความประพฤติไม่ได้ เจ้าหน้าที่กองทะเบียนที่รับแบบฟอร์มคำขอ สามารถช่วยได้ โดยคิดค่าธรรมเนียมและค่างานเอกสารเป็นเงิน 1,500 บาท
ขั้นตอนการดำเนินการ
- ยื่นเอกสารต่างๆ พร้อมชำระเงินที่กองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ( หมายเลขโทรศัพท์ 0-2513-0051-5 ต่อ 324 , 326 ) ในวันเวลาราชการ 8.30-16.30 น.
- ทางเจ้าหน้าที่จะออกใบรับคำร้องขออนุญาต ทท.4 จำนวน 1 ฉบับ
- หลังจากนั้นประมาณ 10 วัน ผู้ประกอบการสามารถไปรับใบคำร้องตัวจริงได้ใบอนุญาตดังกล่าวใช้สิทธิ์ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องภายในร้าน และมีอายุ 6 เดือน ส่วนการต่อใบอนุญาตจะใช้หลักฐานเหมือนเดิมทุกประการ
การขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เพื่อยื่นขอชำระภาษี
เอกสารที่ต้องเตรียม
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
ขั้นตอนการดำเนินการ
เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วน และกรอกแบบฟอร์ม ล.ป.10 แล้ว จากนั้น ให้ผู้ขอเสียภาษีนำไปยื่นที่สรรพากรพื้นที่แต่ในกรณีที่อยู่ต่างจังหวัด ผู้ขอเสียภาษีสามารถยื่นได้ที่สรรพากรอำเภอ
การยื่นชำระภาษี
ผู้ที่ต้องชำระภาษี คือผู้ที่มีรายได้ในปีภาษี ( ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม ) เกิน60,000 บาท ให้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภ.ง.ด. 90 (8) ภายในกำหนดเวลาตั้งแต่ 1มกราคมถึง 31มีนาคมของปีถัดไป นอกจากการเสียภาษีประจำปีแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีด้วย (ภ.ง.ด. 94) โดยครั้งที่ 1 ผู้เสียภาษียื่นระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน เพื่อประเมินรายได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ส่วนครั้งที่ 2 ผู้เสียภาษียื่นภายในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน เพื่อประเมินรายได้ของเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคมที่ผ่านมาเช่นกัน ผู้เสียภาษีสามารถติดต่อได้ที่สรรพากรเขตหรือสรรพากรเขตสาขา ( ในกรุงเทพ ) ส่วนจังหวัดอื่นๆ ให้ยื่นแบบที่สรรพากรอำเภอหรือสรรพากรอำเภอสาขา ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้จากhttp://www.rd.go.th
การชำระภาษีป้าย
เอกสารที่ต้องเตรียม
- บัตรประจำตัวประชาชน - สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
- ทะเบียนพาณิชย์ - แบบแปลน ,ขนาดของป้าย ( ถ้ามี ) - ใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย
ขั้นตอนการดำเนินการ
เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วน ให้ผู้ประกอบการยื่นแบบ ภ.ป.1 ที่สำนักงานเขต ( กรณีอยู่ในกรุงเทพ )หรือสำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการอ.บ.ต. ( กรณีอยู่ต่างจังหวัด ) ภายใน 15 วันหลังจากติดตั้งป้ายเสร็จจากนั้นเจ้าหน้าที่จะมาตรวจขนาดป้ายและดูแบบอักษรพร้อมคำนวณภาษีที่ต้องชำระ เจ้าของร้านสามารถชำระเงินด้วยตัวเองได้ที่กองการเงิน สำนักการคลัง หรือส่งทางไปรษณีย์ในรูปของธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน หรือเช็คภายใน 15 วันหลังจากเจ้าหน้าที่ได้มาตรวจป้ายแล้ว ส่วนการชำระเงิน จะชำระเป็นรายปี คือตั้งแต่เดือนมกราคมแต่ไม่เกินมีนาคมของทุกปี
3. ภาพรวมการตลาด
ธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จากเมื่อ 3-4 ปีก่อน คอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ตเป็นแค่เครื่องมือสำหรับบางอาชีพเท่านั้น เช่นนักวิชาการ นักวิจัย เป็นต้น แต่ปัจจุบันเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นวิธีที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างกันของคนทุกระดับอายุ อาชีพ การศึกษา ทว่า ผู้ใช้ส่วนหนึ่งจะไม่ลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการบำรุงรักษาเครื่องมีค่าใช้จ่ายสูง เหตุนี้ สถาน " บริการอินเตอร์เน็ต " จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบรับกับกระแสของชาวต่างชาติ ที่ใช้บริการรับ-ส่งอีเมล์เพื่อติดต่อกลับไปยังประเทศของตน กลุ่มผู้ประกอบการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส (E-Commerce) และกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล และความบันเทิง
3.1 จากผลการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยของ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC )
ในปี2543 พบว่า มีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยประมาณ 2.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2542ร้อยละ80 และร้อยละ60 ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีอายุประมาณ 15-29 ปี ร้อยละ70 ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกำลังศึกษาอยู่ในช่วงมัธยมปลายและปริญญาตรี
จุดประสงค์ส่วนใหญ่ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต กว่าร้อยละ91.5 ใช้เพื่อติดต่ออีเมล์รองลงมาเป็นการหาข้อมูลประมาณร้อยละ 85.2 แต่จะเน้นข้อมูลด้านความบันเทิงมากกว่าด้านการศึกษาและสิ่งที่วัยรุ่นสนใจ มากเป็นพิเศษคือ การเข้าไปหาเพื่อนคุยทางอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า " Chat " รวมทั้งการเล่นเกมด้วยดังนั้น ก่อนจะเปิดร้าน ผู้ประกอบการควรรู้ว่าลูกค้าเป็นใคร เพื่อที่จะเปิดร้านอินเตอร์เน็ตให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า ทั้งในแง่ความต้องการใช้งาน และบรรยากาศภายในร้าน
3.2 กลุ่มผู้ใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ตในขณะนี้ อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา จะเข้าร้านอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้อีเมล์ การสนทนาหรือChat กับเพื่อน เล่นเว็บบอร์ด ( ตั้ง-ตอบกระทู้ ) พิมพ์รายงาน หาข้อมูลเพื่อการศึกษาและที่กำลังนิยมกันมากในขณะนี้คือ การเล่นเกมออนไลน์
• กลุ่มผู้ใหญ่และวัยทำงาน เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องเข้ามาใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ตเมื่ออยู่นอกสำนักงาน และต้องการหาข้อมูลเป็นการเร่งด่วน
• กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จะใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อกลับไปยังประเทศของตน
การเปิดร้านอินเตอร์เน็ตขึ้นมา เพื่อให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มใดก็ตาม ต้องดูถึงความเหมาะสมของ
ทำเลควบคู่กันไปด้วย อาทิ
- ถ้าเป็นการเปิดร้านในย่านธุรกิจ เช่น สีลม สุขุมวิท ผู้ประกอบการอาจไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมเกมต่างๆ เพียงแค่มีโปรแกรม Office, เว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Navigator,Outlook Express เพื่อรับ-ส่งอีเมล์ ติดตั้งเครื่อง printer สำหรับจัดพิมพ์รายงาน และscanner เพื่อสแกนรูปภาพตามปกติเท่านั้น เนื่องจากลูกค้ามักเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน วัตถุประสงค์การใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับงาน ติดต่อธุรกิจทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต
- ถ้าทำเลอยู่ในย่านแหล่งท่องเที่ยว กลุ่ม ลูกค้าจะเป็นชาวต่างชาติที่เน้นด้านรับ-ส่ง อีเมล์เพื่อติดต่อกลับยังประเทศตน รวมถึงค้นหาข้อมูลบางอย่างด้วย ผู้ประกอบการอาจได้กำไรมากสักหน่อย เพราะการเรียกเก็บค่าชั่วโมงหรือนาทีอยู่ในอัตราที่สูงกว่าคนไทยแต่ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงความรวดเร็วของระบบอินเตอร์เน็ต ดังนั้น จะเห็นได้ว่ารูปแบบการใช้บริการทั้งของกลุ่มคนทำงานและชาวต่างชาติค่อนข้างคล้ายคลึงกัน
- หากทำเลที่ตั้งใกล้กับแหล่งชุมชน กลุ่มที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ
นักเรียนนักศึกษา และถ้าผู้ประกอบการคิดจะให้บริการคนกลุ่มนี้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญแก่โปรแกรมสำหรับพิมพ์งานทั่วไป เช่น Word , Excel และโปรแกรมที่เป็นที่นิยม อาทิ โปรแกรมประเภท Chat เช่น ICQ ,Net Meeting เป็นต้น รวมถึงโปรแกรมเกมใหม่ๆ เพื่อเป็นการดึงดูดใจลูกค้า
- แต่ถ้าเปิดร้านในย่านที่ไม่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายตายตัวได้ เช่นใกล้กับห้างสรรพสินค้า หอพัก อพาร์ทเม้นท์ ผู้ประกอบการก็ควรให้บริการลูกค้าหลายกลุ่มหลายรูปแบบ ทั้งอินเตอร์เน็ตและเกม
แม้ว่าผู้ประกอบการจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายคร่าวๆได้จากทำเล แต่ปัจจุบันร้านอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะเน้นการให้บริการเกมเป็นหลัก ถึงขนาดเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นร้านเกมโดยเฉพาะ เพื่อเจาะกลุ่มเด็กชั้นประถมถึงมัธยมที่มักชวนกันมาเล่นเป็นกลุ่มทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เข้าร้านเป็นกอบเป็นกำ ทั้งๆที่การให้บริการเกมเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบการต้องคอยแสวงหาโปรแกรมเกมใหม่ๆ การซื้อลิขสิทธิ์จากบริษัทที่ผลิตเกม และยังต้องขออนุญาตกองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติรวมถึงการเสียค่าใช้จ่ายในการอัพเกรดฮาร์ดแวร์ อยู่ตลอดเพื่อให้เครื่องมีความเร็วและความแรง ดังนั้น ผู้ประกอบการที่คิดจะเปิดร้านอินเตอร์เน็ตเพื่อบริการเกมเท่านั้น ควรประเมินความคุ้มค่าที่ได้รับก่อน
3.3 ธุรกิจหลักของร้านให้บริการอินเตอร์เน็ต
คือ การให้บริการประเภทต่างๆผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อันได้แก่ บริการท่องเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล บริการรับส่งอีเมล์ บริการส่งข้อความโต้ตอบกันรวมถึงบริการด้านงานพิมพ์เอกสารและบริการการเกม
ส่วนธุรกิจเสริมที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้ควบคู่ไปกับการทำร้านอินเตอร์เน็ต คือ
- การบริการอาหารและเครื่องดื่มภายในร้าน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า
- การเปิดสอนคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กนักเรียน หรือบุคคลทั่วไป
- บริการรับพิมพ์งาน สำหรับนิสิตนักศึกษาที่ไม่มีเวลาพิมพ์รายงานเอง ธุรกิจเสริมตัวนี้สามารถทำเงินให้แก่ร้านได้ไม่น้อย
- บริการเคลือบบัตร ถ่ายเอกสาร
- ในกรณีที่ร้านมีบริการเกม ผู้ประกอบการอาจให้ลูกค้าเช่าซีดีเกม หนังสือวิธีการเล่นเกม ด้วยอัตราค่าเช่าที่ไม่แพง
- รับซ่อม อัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์และให้คำปรึกษาแนะนำแก่ลูกค้าเมื่อมีปัญหา
3.4. ส่วนผสมทางการตลาด
โปรแกรมคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์ในร้านควรมีโปรแกรมต่างๆ เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า เช่นโปรแกรมออฟฟิศ บราวเซอร์ ไอซีคิว อีเมล์และโปรแกรมเกมใหม่ๆ รวมถึงอินเตอร์เน็ตควรมีความเร็วพอสมควร ซึ่งขึ้นอยู่กับ ISP ที่เลือกใช้ การติดตั้งโมเด็มและสายโทรศัพท์ ที่มีจำนวนเหมาะสมกับการใช้งาน และจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์
ด้านราคา
ผู้ประกอบการต้องดูความสมเหตุสมผลในการกำหนดราคา กล่าวคือ ผู้ประกอบการต้องดูต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมด เช่น ราคารายชั่วโมงที่ร้านอินเตอร์เน็ตซื้อกับบริษัท ISP ไม่ว่าจะเป็นบริษัท LOXINFO , KSC , A-Net , Samart Infonet , อินโฟนิวส์ เป็นต้น ราคาค่าชั่วโมงจะตกอยู่ราวชั่วโมงละ15 บาท หรืออาจซื้อในรูปแบบของแพคเกจต่อเดือนเมื่อมาคิดเป็นรายชั่วโมง ราคาจะถูกกว่าราวชั่วโมงละ 6-8 บาท
และเนื่องจากระบบของร้านบริการทางอินเตอร์เน็ตทั่วไป มักใช้แบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ( Internet Sharing ) คือแทนที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวจะต้องมีโมเด็ม มีหมายเลขโทรศัพท์และมีaccountทุกเครื่องผู้ประกอบการสามารถยุบรวมโมเด็ม หมายเลขโทรศัพท์และaccount ให้เหลือเพียงอย่างละชุดได้ ดังนั้นถ้าใช้เพียง 1 account ( เลขทะเบียนการใช้อินเตอร์เน็ต )ในการเชื่อมต่อกับ ISP ผู้ประกอบการก็สามารถให้บริการลูกค้าได้หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน เช่น ถ้ามีคอมพิวเตอร์ที่เปิดให้บริการ 15 เครื่อง และมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเต็มทุกเครื่อง ต้นทุนต่อเครื่องจะเหลือแค่ 1 บาท ผู้ประกอบการจะได้กำไรประมาณ 14 บาทต่อเครื่องต่อชั่วโมง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการต้องไม่ลืมหักค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนอุปกรณ์ชุดพ่วงอินเตอร์เน็ตราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ ค่าลิขสิทธิ์รวมถึงค่าบำรุงรักษา อีกทั้งค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องดูถึงการกำหนดราคาตามตลาดของร้านที่เปิดในบริเวณใกล้เคียงกัน หรือราคามาตรฐานของร้านอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ การคิดค่าเวลาของร้านอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีตั้งแต่ชั่วโมงละ15 บาท 20 บาท 25 บาทขึ้นไป หรือคิดซอยเป็นนาที เช่น 15 นาทีคิด 5 บาท ครึ่งชั่วโมงคิด 10 บาท สำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเพียงแค่เช็คเมล์ หรือพิมพ์งานเล็กๆน้อยๆ
ทำเลและการจัดบรรยากาศภายในร้าน
ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันทำเลที่ดีได้แก่ ทำเลที่ติดริมถนนใหญ่ อยู่ในแหล่งชุมชน ไม่ว่าจะเป็นหน้าโรงเรียน มหาวิทยาลัย ตลาด ภายในห้างสรรพสินค้า บริเวณรอบๆโรงภาพยนตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้จะเปิดร้านอินเตอร์เน็ตควรพิจารณาว่ามีร้านประเภทเดียวกันเปิดอยู่ก่อนหรือไม่ ถ้ามี ผู้ประกอบการต้องคำนึงต่อว่า ลูกค้าควรมีจำนวนมากพอสมควร จนไม่เกิดการแข่งขันด้านราคาขึ้น
การตกแต่งภายในร้านถือเป็นจุดดึงดูดลูกค้าได้เช่นเดียวกัน คือผู้ประกอบการควรจัดร้านให้โล่งโปร่งสบาย สะอาดสวยงาม อาจมีของประดับเล็กๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ติดโปสเตอร์ที่มีสีสันสบายตาไว้ที่ผนัง วางกระถางต้นไม้ไว้มุมห้อง สิ่งเหล่านี้จะช่วยผ่อนคลายสายตาที่เมื่อยล้าจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นานเกินไปได้
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรจัดสรรปันส่วนพื้นที่ระหว่างผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตและผู้เข้ามาเล่นเกมเพราะจุดประสงค์การเข้ามาใช้บริการมีความแตกต่างกันอยู่ คือผู้เข้ามาใช้อินเตอร์เน็ตจะต้องการความเป็นส่วนตัวและความสงบเงียบ ต่างจากผู้ที่เข้ามาเล่นเกมมักจะมีเสียงดังจากเกมหรือจากผู้เล่น ดังนั้นวิธีการแก้ไขอาจทำได้ทั้งการกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน การบริการหูฟังแก่ผู้เล่นเกม หรือใช้การแบ่งเวลาการให้บริการเป็นช่วงๆ เช่น ช่วงเย็นให้บริการเกม ตกดึกก็ให้บริการอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
แต่วิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดคือ ผู้ประกอบการต้องใช้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของร้านควบคุมสภาพการณ์ต่างๆ ภายในร้าน โดยเฉพาะเรื่องเสียงดังจากเกมและตัวผู้เล่น ผู้ประกอบการต้องเดินคุมและคอยหรี่เสียงเกมจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง หรือจะใช้เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ดังเช่น การออกกฎการใช้เครื่องว่า หากทำเสียงดัง ก็จะไม่แถมเวลาให้เล่นต่อ วิธีนี้จะช่วยรักษาลูกค้าทั้งสองกลุ่ม และถ้าทำได้ ผู้ประกอบการอาจไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์อย่าง เช่นหูฟังมาติดไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
การส่งเสริมการขาย
อาจใช้เทคนิควิธีแตกต่างกันตามความต้องการของลูกค้า เช่น
- ในกรณีกลุ่มลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ คนทำงาน นักเรียนนักศึกษา ทางร้านอาจจัดโปรโมชั่นเล่น 5 ชั่วโมง แถมฟรีอีก 1 ชั่วโมง การแถมชั่วโมงจะทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้พอใจ เพราะผู้ใช้งานต้องการเวลานานพอสมควรในการหาข้อมูล รับ-ส่งอีเมล์และสนทนาหาเพื่อน
- การให้โปรโมชั่นแก่ผู้ที่เข้ามาเล่นเกม เช่น การเล่นเกมเพื่อสะสมคะแนนไว้แลกของรางวัล
- เก็บสะสมชั่วโมงเพื่อนำมาแลกเครื่องดื่มภายในร้าน เช่น กาแฟ น้ำอัดลมต่างๆ เป็นต้น
- รับสมัครสมาชิกและเก็บค่าสมาชิก สิทธิประโยชน์ที่ผู้สมัครจะได้รับคือ ราคาค่าชั่วโมงในการใช้อินเตอร์เน็ตแต่ละครั้งจะถูกกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก เช่น เสียค่าสมาชิก 300บาทต่อปี แต่เมื่อเป็นสมาชิก การเข้าใช้อินเตอร์เน็ตจะเสียชั่วโมงละ 15 บาทจากราคาเต็มชั่วโมงละ 25 บาท เป็นต้น
- การส่งเสริมการขายในสัปดาห์แรกที่เปิด ผู้ประกอบการอาจแจกคูปองให้เล่นอินเตอร์เน็ตฟรีชั่วโมงแรกและชั่วโมงต่อไปคิดเพียงครึ่งราคา เป็นต้น
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้การส่งเสริมการขายก็คือ การให้บริการที่ดีเพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและพึงพอใจสูงสุด เพราะการดึงดูดลูกค้าโดยใช้ราคาเป็นตัวกำหนดเพียงอย่างเดียวจะทำได้ระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่ถ้าลูกค้าเชื่อมั่นต่อการบริการของร้านแล้วลูกค้าจะไม่หนีไปใช้บริการร้านอื่น ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมองถึงความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็น ความเร็วของอินเตอร์เน็ต บรรยากาศภายในร้านที่ผ่อนคลาย การจัดโต๊ะพิเศษให้ลูกค้านั่งรอเวลาเครื่องคอมพิวเตอร์มีคนใช้เต็ม พร้อมมุมหนังสือหลากหลายประเภทเพื่อความเพลิดเพลิน
3.5 ปัจจุบันสภาพการแข่งขันในตลาดของธุรกิจให้บริการทางอินเตอร์เน็ตค่อนข้างสูง
เนื่องจากการลงทุนลดต่ำลงมากกว่าแต่ก่อน จากเดิมผู้ประกอบการต้องมีเงินลงทุนกว่าสามแสนบาท ขึ้นไป แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียงสองแสนไม่เกินสามแสนบาท หรือถ้าเป็นร้านเล็กๆ อาจจะประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท การลงทุนที่ไม่สูงเกินไปนัก นับ ว่าเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้ามาลงทุน แต่ในปัจจุบัน ธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มไม่ค่อยสดใสเท่ากับที่ผ่านมา เพราะธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ตเริ่มประสบปัญหาหลายประการ ทั้งด้านการแข่งขัน ลิขสิทธิ์ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้น ถ้าคิดจะเปิดธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบการจึงควรเลือกทำเลที่ดี มีกลยุกธ์ให้ลูกค้าเข้าใช้บริการอย่างต่อเนื่อง และทำการศึกษาสภาพการณ์ต่าง ๆ อย่างลึกซิ้งเสียก่อน
4. โครงสร้างการบริการภายในร้าน
4.1 ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ที่มักใช้กับร้านอินเตอร์เน็ต คือระบบLAN ซึ่งระบบLAN หมายถึง เครือข่ายเฉพาะกลุ่มที่มีขนาดเล็ก ระยะทำการไม่ไกลนัก มักเชื่อมโยงกันด้วยความเร็วสูงอาจใช้ผ่านทางสายเคเบิลทองแดง หรือใยแก้วนำแสง เป็นต้น
- ระบบLANแบบบัส เหมาะสำหรับร้านที่มีจำนวนเครื่องลูกข่ายไม่มากนัก แต่ระบบนี้ไม่เหมาะในการใช้เล่นเกม ข้อดีของระบบนี้คือไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ Hub และSwitch มีเพียงสายเคเบิลเชื่อมต่อแบบอนุกรมยาวต่อเนื่องกันไป แต่ถ้าหากมีจุดใดจุดหนึ่งในระบบLAN เสียหาย ก็จะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ไปด้วย
- ระบบLANแบบสตาร์ นิยมใช้กันในร้านอินเตอร์เน็ตเนื่องจากการบำรุงรักษา การเพิ่มหรือถอดเครื่องออกจากระบบ สามารถทำได้ง่าย โดยดึงสายที่ต่อจากเครื่องออกจาก Hub ( อุปกรณ์การส่งข้อมูลจากเครื่องพีซีหนึ่งกระจายไปให้กับเครื่องอื่น ) หรือ Switch ( อุปกรณ์เลือกส่งข้อมูลจากเครื่องพีซีหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งที่เป็นจุดหมายปลายทางโดยตรง) โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการทำงานของระบบ ระบบนี้ยังสามารถแก้ปัญหาสายเคเบิลโดยดูจากไฟที่Hub หรือSwitchได้เลย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองระบบเครือข่ายแล้ว จะพบว่าLAN แบบสตาร์สามารถใช้งานได้ ง่ายกว่า การสร้างเครือข่ายแบบสตาร์ ผู้ประกอบการต้องมีอุปกรณ์ศูนย์กลางสำหรับเชื่อมต่อ (Hub/Switch) , การ์ดLANที่ใช้หัวต่อแบบ RJ-45สำหรับเสียบในเครื่องพีซีแต่ละเครื่องและสายUTPแบบCAT5 หรือCAT5eที่มีการเข้าหัวแบบ RJ-45 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆที่ผู้ประกอบการต้องมีอยู่แล้วคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ สายโทรศัพท์อย่างน้อย 1 คู่สาย โมเด็ม 1 ชุด (อุปกรณ์แปลงสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับสายโทรศัพท์) อุปกรณ์สำหรับแชร์อินเตอร์เน็ต
4.2 ขนาดพื้นที่ต่อจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์
ผู้ประกอบการไม่ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์จนดูแออัดเกินไป หากแต่ควรจัดให้โล่ง โปร่ง สะอาดตา เช่น ขนาดพื้นที่กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร ควรมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 8-10 เครื่อง หรือถ้าหน้าร้านกว้าง 3 เมตร ยาว 15 เมตร เครื่องคอมพิวเตอร์จะวางได้ถึง 10-15 เครื่อง การเลือกโต๊ะเก้าอี้ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะยิ่งลูกค้านั่งสบายเท่าใด ลูกค้าจะใช้เวลาในการนั่งเล่นอินเตอร์เน็ตนานขึ้นเท่านั้น
4.3 การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
เจ้าของร้านให้บริการอินเตอร์เน็ตต้องรู้แหล่งขายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้ อาจเป็นบริษัทผู้ผลิต หรือจากตัวแทนจำหน่ายทั่วไป แต่ถ้างบประมาณมีไม่เพียงพอสำหรับคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ ผู้ประกอบการอาจใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบประกอบเอง โดยหาซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบ เช่น CPU เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ จอภาพที่นิยมใช้กันคือ จอภาพขนาด 17 นิ้ว คีย์บอร์ด และ เม้าส์ เป็นต้น หรือซื้อเครื่องที่ประกอบเสร็จได้ตามแหล่งขายคอมพิวเตอร์ใหญ่ๆ คอมพิวเตอร์เหล่านี้จะมีราคาถูกกว่า คือ ตกเครื่องละประมาณ 16,000-20,000 บาทเศษๆ แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องอาศัยความรู้ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ มิฉะนั้นอาจจะได้เครื่องปลอมและสินค้าที่ไม่ดีมาแทน
วิธีการเลือกซื้อเครื่องนั้น เราควรดูถึงลักษณะการใช้งาน ร้านอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปจะเป็นการให้บริการโปรแกรมต่างๆ เช่น บราวเซอร์ อีเมล์ ไอซีคิว Word Exel ผู้ประกอบการต้องเลือกเครื่องที่มี สเป็คปานกลางไปจนถึงค่อนข้างสูง อาจเลือก Intel Celeron 700MHz ขึ้นไป หรือ AMD Duron 800MHz ขึ้นไป กับRAM64MB เป็นต้น แต่ถ้าให้บริการเกมด้วย คงต้องใช้สเป็คที่สูงกว่าบริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป คือ CPUต้องเป็น Pentium lll ความถี่ 800 MHz ขึ้นไป มีการ์ดกราฟิกแบบ 3 มิติ พร้อมซาวด์การ์ด รวมถึงหูฟังอย่างดี เป็นต้น และภายหลังจากตัดสินใจว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นใด ผู้ประกอบการต้องไม่ลืมสอบถามถึงการรับประกันสินค้านั้นๆ ด้วย
4.4 สร้างความรวดเร็วของระบบคอมพิวเตอร์
ปกติลูกค้าจะต้องการการบริการอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว ผู้ประกอบการอาจเพิ่มโมเด็มและสายโทรศัพท์ขึ้นมาอีก 1 ชุด เพื่อต่ออินเตอร์เน็ตภายใต้ Internet Account เดียวกันกับ ISP เดิมได้ หรือหากผู้ประกอบการกังวลว่า ISP ( บริษัทที่ให้บริการชั่วโมงอินเตอร์เน็ต )ใดเกิดขัดข้อง ทำให้อินเตอร์เน็ตช้าลง ผู้ประกอบการก็สามารถซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ตจาก ISP คนละค่ายกัน ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับ Internet Account ภายใต้ ISP นั้นๆ อีก1 account เพื่อต่อเข้ากับสายโทรศัพท์และโมเด็มอีกหนึ่งชุด สรุปแล้ว ร้านอินเตอร์เน็ตจะมีโมเด็มถึง 2 ชุด และอินเตอร์เน็ตจาก ISP อีก 2
4.5 การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้คอมพิวเตอร์เสียหายก่อนเวลาอันควร และโดยหลักการพื้นฐานนั้น ผู้ประกอบการควรระวังไม่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆตกแตกเสียหาย ในกรณีที่ภายในร้านได้จำหน่ายเครื่องดื่มแก่ลูกค้าผู้ประกอบการควรจัดสถานที่ให้เป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันการหกเลอะเทอะ ทำความเสียหายให้แก่เครื่องรวมถึงมีการติดตั้งโปรแกรมเพื่อป้องกันการลบข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของลูกค้าไว้ด้วยปกติแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีอายุการใช้งานนานประมาณ 3 ปี ภายหลังจากนั้นผู้ประกอบการควรทำการอัพเกรดเครื่อง แต่ส่วนที่จะเสื่อมคุณภาพก่อนคือ จอภาพและคีย์บอร์ด อุปกรณ์ เหล่านี้ ผู้ประกอบการสามารถนำไปขายเป็นสินค้ามือสอง หรืออาจนำกลับไปยังร้านประจำ เพื่อทางร้านจะได้นำสินค้าส่งไปซ่อมยังบริษัท และเปลี่ยนสินค้าตัวใหม่มาแทน
4.6 สำหรับร้านที่ผู้ประกอบการไม่ได้ดูแลเองโดยตรง
เจ้าของอาจใช้วิธีจ้างพนักงานโดยคัดเลือกจากคุณสมบัติต่างๆ เช่น ไว้ใจได้ มีความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ ตามปกติ ถ้าเป็นร้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เจ้าของอาจจ้างพนักงาน 1-2 คนก็เพียงพอ แต่ถ้าเป็นร้านที่มีคอมพิวเตอร์หลายตัว ผู้ประกอบการมักจะติดตั้งโปรแกรมคิดค่าบริการตามเวลาที่ลูกค้าใช้ไว้ในเครื่อง เช่น Netcost1.2, Time Administrator3.01, TimeCalculator Internet2.0 และ ezyTime Mananger เป็นต้น
5. การบริหารธุรกิจ
ร้านอินเตอร์เน็ต เป็นธุรกิจที่ใช้คนดูแลไม่ต้องมากนัก เพราะคนๆหนึ่งสามารถควบคุมและดูแลคอมพิวเตอร์ได้เป็นจำนวนหลายเครื่อง ดังนั้น บางร้านอาจใช้จำนวนพนักงานเพียงคนเดียวระบบการบริหารพนักงานส่วนใหญ่ จึงมักฝึกให้พนักงานสามารถทำงานได้หลายๆ หน้าที่ เช่น สามารถพิมพ์งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จับเวลาเพื่อเก็บค่าบริการจากลูกค้ารวมถึงดูแลสภาพความเรียบร้อยภายในร้าน
หากสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรใส่ใจในเรื่องการบริหารบุคลากร คือ การอาจจัดฝึกอบรมความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้กับพนักงานดูแลร้าน เพราะวิธีนี้ จะเป็นการช่วยพัฒนาความรู้ให้กับพนักงาน และเมื่อลูกค้าประสบปัญหาด้านคอมพิวเตอร์ขณะใช้เครื่อง หรือเมื่อคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องเพียงเล็กน้อยพนักงานจะสามารถดำเนินการแก้ไขได้เอง
6. การเงิน
การหาแหล่งเงินทุนเพื่อตั้งร้าน ผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต มีทั้งการใช้เงินทุนของตนเอง และการกู้เงินในระบบทั่วไป ทว่า หากใช้ประการหลัง ผู้ประกอบการต้องคำนวณเพิ่มในเรื่องต้นทุนด้านดอกเบี้ยด้วยธุรกิจนี้ ถ้าผู้ประกอบการมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การชำระหนี้และการคืนทุนก็จะใช้เวลาไม่นานนัก
6.1 โครงสร้างต้นทุนวงเงินเริ่มต้น
สัดส่วนของต้นทุน ส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปยังค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นเปิดร้าน โดยช่วงเริ่มต้น ผู้ประกอบการอาจต้องลงทุนสูงทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ค่าติดตั้งโทรศัพท์ ค่าเช่าที่ (กรณีไม่ได้เปิดร้านในที่ของตน) ตลอดจนโต๊ะวางคอมพิวเตอร์ เก้าอี้ เครื่องปรับอากาศ ค่าใช้จ่ายต่างๆในการตกแต่งร้านค่าชั่วโมงอินเตอร์เน็ตที่ต้องจ่ายรายเดือนและรายจ่ายด้านการประชาสัมพันธ์ในช่วงเปิดร้านใหม่เงินลงทุนที่สามารถจะดำเนินกิจการได้ตกอยู่ราว 200,000-300,000 บาทต้นๆ ขึ้นกับรุ่นของคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันตามแต่การใช้งาน เช่น
- ร้านขนาดเล็กสามารถวางคอมพิวเตอร์ได้น้อยกว่า 10 เครื่อง
- ร้านขนาดกลางสามารถวางคอมพิวเตอร์ได้11-20 เครื่อง
- ร้านขนาดใหญ่สามารถวางคอมพิวเตอร์ได้มากกว่า 20 เครื่องขึ้นไป
งบประมาณในการลงทุน อาจแบ่งได้เป็น
• ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตและลิขสิทธิ์ต่างๆประมาณ 80 %
ร้านขนาดเล็ก (พื้นที่ประมาณ 4 * 8 เมตร)
ร้านขนาดกลาง (พื้นที่ประมาณ 4 * 15 เมตร)
ร้านขนาดใหญ่ (ขึ้นกับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์)
- ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ 6-10 เครื่อง เป็นเงิน 100,000-180,000 บาท ถ้ามีคอมพิวเตอร์มากกว่า10 เครื่อง คิดเป็นเงิน 180,000-250,000 บาท และคอมพิวเตอร์ 20-50 เครื่องขึ้นไปการลงทุนอาจสูงถึง 1,500,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์Hubประมาณ 2,000-7,000 บาท โมเด็มประมาณ 1,200 บาท สายโทรศัพท์ของTA 6,000 บาท อุปกรณ์แชร์อินเตอร์เน็ตประมาณ 20,000-25,000 บาท สายเน็ตเวิร์คประมาณ 400 บาท สายUTPและหัวRJ-45 ราคาไม่เกิน 30 บาท เป็นต้น
- เครื่องปริ๊นเตอร์ประมาณ 4,000 บาทขึ้นไป และเครื่องสแกนเนอร์ 3,000-8,000 บาท ( แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ )
- ค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมต่อเครื่อง อาทิ วินโดว์95/98/ME/XP/2000 ราคา 3,000บาทขึ้นไปต่อเครื่องแต่ถ้าวินโดว์NT กรณีเป็น Server ประมาณ 30,000บาทต่อเครื่อง โปรแกรมออฟฟิศประมาณ 24,000 บาทต่อเครื่อง ไมโครซอฟท์เวิร์ด 2000โปรแกรมละ 2,400 บาทต่อเครื่อง เป็นต้น ส่วนราคาโปรแกรมเกมจะอยู่ที่ 300-3,600 บาท ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีเกณฑ์ในการขายลิขสิทธิ์แตกต่างกันไป เช่น เกมCounter-Strike , Diablo และStarcraft เป็นของบริษัทBm Media ผู้ที่คิดลงทุนต้องสั่งซื้อโปรแกรมเกมตามจำนวนคอมพิวเตอร์คือ 1 ชุดต่อ 1 เครื่อง ส่วนบริษัท E.A. (Thailand) ที่ผลิตเกม Red Alert2 ผู้ซื้อจะต้องซื้อลิขสิทธิ์จำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนเครื่องที่มีอยู่ในร้าน เช่น มีคอมพิวเตอร์ 8 เครื่อง ซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์เกม 4 ชุด ตรงข้ามกับเกม Sims คือผู้ประกอบการต้องซื้อลิขสิทธิ์เกมเท่ากับจำนวนเครื่องที่ต้องการลง เป็นต้น และหลังจากการ ติดต่อซื้อขายกันแล้ว ผู้ประกอบการต้องส่งใบเสร็จรับเงินที่สั่งซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมเกมพร้อมเขียนชื่อนามสกุล หรือบางบริษัทอาจให้ส่งเอกสารที่บรรจุอยู่ในกล่องเกมของแท้กลับไปยังบริษัท หลังจากนั้นทางบริษัทผู้จำหน่ายจะส่งสติ๊กเกอร์มาให้ เพื่อใช้ติดหน้าร้านและติดที่กล่องซีดีเกม
• ค่าตกแต่งร้าน ค่าส่งเสริมการขายร้านและการวางระบบ ( กรณีที่เจ้าของร้านไม่สามารถวางระบบอินเตอร์เน็ตได้เอง) อีก 30 %
ค่าจ้างสำหรับวางระบบอินเตอร์เน็ตภายในร้าน
ค่าโต๊ะ เก้าอี้
พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร้าน ค่าบัตรสมาชิก ใบปลิวช่วงแนะนำร้านและของจิปาถะอื่นๆ
เงินทุนหมุนเวียนต่อเดือนควรมีประมาณ 20,000-30,000 บาท แล้วแต่ขนาดของร้านเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้
ค่าซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์
ค่าเช่าชั่วโมงอินเตอร์เน็ตรายเดือนหรือเป็นแพ็คเกจจาก ISP
ค่าเช่าที่
ค่าน้ำค่าไฟ
ค่าจ้างพนักงาน ( บางร้านผู้ประกอบการเป็นผู้ดูแลเอง )
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
6.2 ระยะเวลาการคืนทุน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ราว1-2 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน ทำเลที่ตั้ง ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ค่าบริการรายชั่วโมงที่คิดกับลูกค้า ค่าลิขสิทธิ์
และรายได้จากบริการเสริมอื่นๆ
6.3 กำไรของธุรกิจนี้ต่อเดือนประมาณ 7,000-10,000 บาท (หักดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้ว)
6.4 ผลตอบแทนที่ได้ต่อเดือนก็ไม่ควรต่ำกว่า 27,000 บาท (ในกรณีเฉลี่ยวันละ 900บาท)
6.5 วิธีการประหยัดค่าใช้จ่ายของร้านอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไป
- ใช้วิธีแชร์อินเตอร์เน็ต โดยอาศัยเทคโนโลยีของระบบLAN และอุปกรณ์สำหรับแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น คือหากผู้ประกอบการให้บริการอินเตอร์เน็ต จำนวน 10 เครื่อง ผู้ประกอบการอาจยุบโมเด็ม หมายเลขโทรศัพท์ Internet Account ลง เหลืออย่างละ1 ชุดได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของอินเตอร์เน็ต มากนัก ทั้งนี้ การยุบโมเด็มและหมายเลขโทรศัพท์ต้องอิงกับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิดให้บริการด้วย คือ ถ้าจำนวนเครื่องมากเกินไป อาจทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตช้าลงได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการอาจแก้ไขด้วยการเพิ่มจำนวนโมเด็มและหมายเลขโทรศัพท์ขึ้นอีกอย่างละหนึ่งชุด
- การติดตั้งโปรแกรมปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เองโดยอัตโนมัติ ขณะที่ยังไม่มีลูกค้าเข้ามาใช้งาน
- การเลือกใช้หลอดประหยัดไฟ
- การจัดหน้าหน้าให้โล่งสว่าง ออกแบบฝ้าให้ต่ำลงเพื่อประหยัดค่าเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
7. เงื่อนไขและข้อจำกัดที่สำคัญ
ในปัจจุบันกระแสลิขสิทธิ์ค่อนข้างจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต เพราะทำให้ต้นทุนด้านลิขสิทธิ์ของผู้ประกอบการสูงขึ้นกว่าเดิม
การแข่งขันกันตัดราคาค่าบริการเพราะผู้ประกอบการอาจเห็นว่าวิธีนี้จะช่วยดึงดูดใจลูกค้าได้ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว การแข่งขันกันลดราคาจนกระทั่งไม่เกิดกำไร จะไม่เป็นผลดีต่อความอยู่รอดของกิจการในระยะยาวดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับงานด้านบริการ เพื่อสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าแทน
ในปัจจุบันร้านอินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงเป็นร้านบริการเกมเต็มรูปแบบ การให้บริการนี้ จะมีผลดีต่อจำนวนลูกค้าที่เข้าร้านแต่มีผลลบในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการที่ต้องอัพเกรดเครื่องบ่อยๆ การแสวงหาโปรแกรมเกมใหม่ๆ การเสียค่าลิขสิทธิ์เกม
8. ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ
• ผู้ประกอบการต้องคอยพัฒนาความรู้ด้านระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรมต่างๆเพื่อนำมาปรับปรุงการบริการของร้านให้ดียิ่งขึ้น
• เสาะหากลยุทธ์การให้บริการใหม่ๆที่สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
สองสามปีให้หลัง "เครือข่ายอินเตอร์เน็ต" เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ธุรกิจต้องอาศัยความรวดเร็วในการค้าขาย เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายต่อลูกค้า นิสิตนักศึกษาต้องการความรู้มากกว่าข้อมูลภายในห้องสมุดและต้องการความบันเทิงจากการสนทนาหาเพื่อนทั่วโลก ดังนั้น จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่าตามหัวมุมถนน ริมถนนใหญ่ หน้าสถานศึกษาหรือแหล่งท่องเที่ยวทั่วไปจะกลายเป็นสถานที่ที่ถูกเลือกเพื่อจัดตั้งร้านอินเตอร์เน็ต
การบริการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์( E-Commerce ) คือการทำธุรกรรมบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบริการหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ รับส่ง E-mail ติดต่อกันข้ามประเทศ การสนทนา ( Chat ) หาเพื่อน หรือแม้แต่บริการเกม เป็นต้น ดังนั้นคำว่า " ร้านอินเตอร์เน็ต " จึงหมายถึงสถานที่ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตโดยคิดค่าตอบแทนจากบุคคลที่เข้าใช้อินเตอร์เน็ตตามระยะเวลา และอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้ในแต่ละแห่ง
อยากเป็นเจ้าของร้านอินเตอร์เน็ต…ต้องคำนึงถึงเรื่องใด
1. ศักยภาพของผู้ประกอบการ
• เป็นคนที่ทันเหตุการณ์และชอบแสวงหาสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา เช่น เจ้าของร้านควรรู้ข่าวสารโปรแกรมใหม่ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น รวมทั้งควรรู้ข่าวสารเรื่องลิขสิทธิ์โปรแกรมที่จะส่งผลกระทบต่อร้านด้วย
• เป็นคนกว้างขวาง ยิ่งเจ้าของร้านรู้จักคนมากเท่าใด ย่อมเป็นผลดีต่อธุรกิจมากขึ้นเท่านั้นไม่ว่าจากเพื่อนร่วมธุรกิจเดียวกัน จากร้านขายอุปกรณ์ที่ไปซื้อเป็นประจำ และจากกลุ่มลูกค้าเพราะคนเหล่านี้จะคอยบอกความเคลื่อนไหวในวงการเทคโนโลยีและสารสนเทศให้อย่างสม่ำเสมอ
• มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เพราะผู้ประกอบการจะสามารถเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพใช้งานได้นานและหากว่า คอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องเพียงเล็กน้อย ผู้ประกอบการก็สามารถซ่อมแซมได้เองโดยไม่จำเป็นต้องติดต่อช่าง การมีความรู้ด้านนี้บ้างจึงนับว่าเป็นการประหยัดทั้งเงินและเวลาอีกทั้งเจ้าของร้านยังอาจเป็นผู้ให้คำปรึกษา หรือสอนลูกค้าใช้โปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความประทับใจต่อลูกค้าที่เข้ามารับบริการ
• เป็นคนละเอียดรอบคอบ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องคุมค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด (ในกรณีที่ร้าน มีหุ้นส่วนมากกว่า 1 คน ผู้ร่วมหุ้นควรทำสัญญาร่วมกันให้ชัดเจนจะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง)
• ถ้าผู้ประกอบการเป็นเจ้าของสถานที่เอง ต้นทุนที่ผู้ประกอบการต้องเสียก็จะลดน้อยลง
2. การติดต่อกับหน่วยงานราชการ
โดยทั่วไปแล้ว กฎหมายกำหนดไว้ว่า ธุรกิจด้านบริการไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า( เว้นแต่ว่าภายในร้านจะมีการค้าขายอื่นๆ ด้วย ) แต่ปัจจุบันร้านให้บริการทางอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่มัก จะต้องจดทะเบียนไว้ เนื่องจากร้านมีการประกอบธุรกิจเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ควบคู่ไปด้วยอีกทั้งใบจดทะเบียน ดังกล่าวยังใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อหน้าเจ้าพนักงานของรัฐเมื่อมาตรวจสอบ
นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงคือ การซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมใช้งานทั่วไปและโปรแกรมเกมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งต้องขออนุญาตจากกองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติในกรณีที่ทางร้านให้เช่าแผ่นซีดีเกมคอมพิวเตอร์แก่ลูกค้าซึ่งรายละเอียดการติดต่อในแต่ละด้าน มีดังต่อไปนี้
การจดทะเบียนพาณิชย์
เอกสารที่ต้องเตรียม ( เฉพาะกรณีเจ้าของกิจการคนเดียว )
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
ขั้นตอนการดำเนินการ
ผู้ประกอบการต้องไปกรอกแบบฟอร์มขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการพร้อมกับยื่นเอกสารที่เตรียมไว้ และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนอีก 50 บาท ขั้นตอนนี้จะเสร็จภายในหนึ่งวัน
สำหรับสถานที่ที่สามารถยื่นขอจดทะเบียน ถ้าเป็นในเขตกรุงเทพมหานคร คือ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 7 แห่ง หรือโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลข 0-2547-5050 ( กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อ.เมือง จ.นนทบุรี ) ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดบุคคลที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.thairegistration.com/thai/serviceplace/detail4.phtml
การซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมใช้งานทั่วไปจากเจ้าของลิขสิทธิ์
การเปิดร้านอินเตอร์เน็ตถือเป็นอาชีพที่สุจริต แต่ผู้ประกอบการบางรายอาจทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้เพราะความรู้ด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ทำให้ร้านอินเตอร์เน็ตทั่วไปซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้ซื้อ License ( ไลเซ่น ) Licensing คือลิขสิทธิ์โปรแกรม (ซอฟท์แวร์ ) ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2537 ประเภทวรรณกรรมการทำซ้ำ ดัดแปลงเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน ตามกฎหมายร้านอินเตอร์เน็ตจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนจึงจะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
รูปแบบลิขสิทธิ์โปรแกรม
1. โปรแกรมที่มากับเครื่อง ( OEM ) คือโปรแกรมที่ทางผู้ขายติดตั้งมาให้เมื่อคุณซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่พร้อมโปรแกรม ส่วนมากจะเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ เช่น COMPAQ , IBM หรือ OEM แบบไม่มีกล่องบรรจุ (ไม่มีแพ็คกิ้ง) ซึ่งขายแยกให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบเอง ลิขสิทธิ์โปรแกรมที่ได้นั้นมักจะเป็นโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ ( Operation System ) เช่น Windows, NT Server, Windows98, Workstation เป็นต้น ผู้ซื้อจะได้รับแผ่นซีดีของทุกโปรแกรมที่ติดตั้งมา ตามหนังสือคู่มือการใช้งาน ใบCertification of Authenticity (ใบรับรองโปรแกรมว่าเป็นของแท้ ซึ่งจะอยู่ตรงหน้าปกหนังสือคู่มือการใช้งาน )
2. ชุดเต็ม (Full Packaged Product) ลิขสิทธิ์ชุดเต็มนี้สามารถซื้อตามร้านค้าปลีกที่เป็นตัวแทนจำหน่ายของไมโครซอฟท์ เช่น ร้านBookchest, IT-City, ไดโนเสาร์และChallenger สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงคือ 1 licenseต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องเท่านั้น และถ้าต้องการลงโปรแกรมเดียวกัน 3 เครื่องผู้ประกอบการก็ต้องซื้อลิขสิทธิ์ 3 license เป็นต้น
3. OPEN LICENSE คือการซื้อโปรแกรมเดียวกันเป็นชุด เช่น 5 ไลเซ่นขึ้นไป ราคาของโปรแกรมประเภทนี้ จะถูกกว่าแบบ OEM และแบบชุดเต็ม โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับร้านอินเตอร์เน็ตที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการจำนวนมาก เช่นซื้อโปรแกรม Officeลิขสิทธิ์ 10 ไลเซ่น ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ 10 เครื่อง ( การลงโปรแกรมเป็นแบบ 1 ไลเซ่นต่อ 1 เครื่องเช่นกัน)
การขออนุญาตจากกองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เมื่อผู้ประกอบการซื้อลิขสิทธิ์เกมแล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปคือ การขออนุญาตจากกองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งกำหนดให้ประเภทซีดีเกมจะต้องได้รับการพิจารณาก่อนนำเผยแพร่ต่อสาธารณชน ดังนั้นร้านอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการเกม และร้านเกมซึ่งให้ลูกค้าเช่าแผ่นซีดีเกมคอมพิวเตอร์ ควรดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
เอกสารที่ต้องเตรียม
- ภาพถ่ายร้านจำนวน 3 รูป ประกอบด้วย ภาพถ่ายภายหน้าร้านระยะไกล ระยะใกล้และภายในร้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด - สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
( ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเจ้าบ้านต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน อย่างละ 1 ชุดและลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง )
- รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 รูป
- ค่าธรรมเนียม 250 บาท
- หนังสือรับรองความประพฤติ ผู้ประกอบการสามารถขอแบบฟอร์มได้ที่กองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติหนังสือดังกล่าวต้องมีลายเซ็นของข้าราชการระดับ4 รับรองความประพฤติให้กับผู้ตั้งร้านรวมทั้งถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการของผู้รับรอง พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยในขั้นตอนนี้ผู้เป็นเจ้าของร้านต้องเสียค่าบริการงานเอกสาร 1,000 บาท แต่กรณีที่หาข้าราชการระดับ4 มาเซ็นต์รับรองความประพฤติไม่ได้ เจ้าหน้าที่กองทะเบียนที่รับแบบฟอร์มคำขอ สามารถช่วยได้ โดยคิดค่าธรรมเนียมและค่างานเอกสารเป็นเงิน 1,500 บาท
ขั้นตอนการดำเนินการ
- ยื่นเอกสารต่างๆ พร้อมชำระเงินที่กองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ( หมายเลขโทรศัพท์ 0-2513-0051-5 ต่อ 324 , 326 ) ในวันเวลาราชการ 8.30-16.30 น.
- ทางเจ้าหน้าที่จะออกใบรับคำร้องขออนุญาต ทท.4 จำนวน 1 ฉบับ
- หลังจากนั้นประมาณ 10 วัน ผู้ประกอบการสามารถไปรับใบคำร้องตัวจริงได้ใบอนุญาตดังกล่าวใช้สิทธิ์ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องภายในร้าน และมีอายุ 6 เดือน ส่วนการต่อใบอนุญาตจะใช้หลักฐานเหมือนเดิมทุกประการ
การขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เพื่อยื่นขอชำระภาษี
เอกสารที่ต้องเตรียม
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
ขั้นตอนการดำเนินการ
เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วน และกรอกแบบฟอร์ม ล.ป.10 แล้ว จากนั้น ให้ผู้ขอเสียภาษีนำไปยื่นที่สรรพากรพื้นที่แต่ในกรณีที่อยู่ต่างจังหวัด ผู้ขอเสียภาษีสามารถยื่นได้ที่สรรพากรอำเภอ
การยื่นชำระภาษี
ผู้ที่ต้องชำระภาษี คือผู้ที่มีรายได้ในปีภาษี ( ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม ) เกิน60,000 บาท ให้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภ.ง.ด. 90 (8) ภายในกำหนดเวลาตั้งแต่ 1มกราคมถึง 31มีนาคมของปีถัดไป นอกจากการเสียภาษีประจำปีแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีด้วย (ภ.ง.ด. 94) โดยครั้งที่ 1 ผู้เสียภาษียื่นระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน เพื่อประเมินรายได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ส่วนครั้งที่ 2 ผู้เสียภาษียื่นภายในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน เพื่อประเมินรายได้ของเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคมที่ผ่านมาเช่นกัน ผู้เสียภาษีสามารถติดต่อได้ที่สรรพากรเขตหรือสรรพากรเขตสาขา ( ในกรุงเทพ ) ส่วนจังหวัดอื่นๆ ให้ยื่นแบบที่สรรพากรอำเภอหรือสรรพากรอำเภอสาขา ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้จากhttp://www.rd.go.th
การชำระภาษีป้าย
เอกสารที่ต้องเตรียม
- บัตรประจำตัวประชาชน - สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
- ทะเบียนพาณิชย์ - แบบแปลน ,ขนาดของป้าย ( ถ้ามี ) - ใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย
ขั้นตอนการดำเนินการ
เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วน ให้ผู้ประกอบการยื่นแบบ ภ.ป.1 ที่สำนักงานเขต ( กรณีอยู่ในกรุงเทพ )หรือสำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการอ.บ.ต. ( กรณีอยู่ต่างจังหวัด ) ภายใน 15 วันหลังจากติดตั้งป้ายเสร็จจากนั้นเจ้าหน้าที่จะมาตรวจขนาดป้ายและดูแบบอักษรพร้อมคำนวณภาษีที่ต้องชำระ เจ้าของร้านสามารถชำระเงินด้วยตัวเองได้ที่กองการเงิน สำนักการคลัง หรือส่งทางไปรษณีย์ในรูปของธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน หรือเช็คภายใน 15 วันหลังจากเจ้าหน้าที่ได้มาตรวจป้ายแล้ว ส่วนการชำระเงิน จะชำระเป็นรายปี คือตั้งแต่เดือนมกราคมแต่ไม่เกินมีนาคมของทุกปี
3. ภาพรวมการตลาด
ธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จากเมื่อ 3-4 ปีก่อน คอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ตเป็นแค่เครื่องมือสำหรับบางอาชีพเท่านั้น เช่นนักวิชาการ นักวิจัย เป็นต้น แต่ปัจจุบันเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นวิธีที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างกันของคนทุกระดับอายุ อาชีพ การศึกษา ทว่า ผู้ใช้ส่วนหนึ่งจะไม่ลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการบำรุงรักษาเครื่องมีค่าใช้จ่ายสูง เหตุนี้ สถาน " บริการอินเตอร์เน็ต " จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบรับกับกระแสของชาวต่างชาติ ที่ใช้บริการรับ-ส่งอีเมล์เพื่อติดต่อกลับไปยังประเทศของตน กลุ่มผู้ประกอบการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส (E-Commerce) และกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล และความบันเทิง
3.1 จากผลการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยของ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC )
ในปี2543 พบว่า มีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยประมาณ 2.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2542ร้อยละ80 และร้อยละ60 ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีอายุประมาณ 15-29 ปี ร้อยละ70 ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกำลังศึกษาอยู่ในช่วงมัธยมปลายและปริญญาตรี
จุดประสงค์ส่วนใหญ่ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต กว่าร้อยละ91.5 ใช้เพื่อติดต่ออีเมล์รองลงมาเป็นการหาข้อมูลประมาณร้อยละ 85.2 แต่จะเน้นข้อมูลด้านความบันเทิงมากกว่าด้านการศึกษาและสิ่งที่วัยรุ่นสนใจ มากเป็นพิเศษคือ การเข้าไปหาเพื่อนคุยทางอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า " Chat " รวมทั้งการเล่นเกมด้วยดังนั้น ก่อนจะเปิดร้าน ผู้ประกอบการควรรู้ว่าลูกค้าเป็นใคร เพื่อที่จะเปิดร้านอินเตอร์เน็ตให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า ทั้งในแง่ความต้องการใช้งาน และบรรยากาศภายในร้าน
3.2 กลุ่มผู้ใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ตในขณะนี้ อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา จะเข้าร้านอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้อีเมล์ การสนทนาหรือChat กับเพื่อน เล่นเว็บบอร์ด ( ตั้ง-ตอบกระทู้ ) พิมพ์รายงาน หาข้อมูลเพื่อการศึกษาและที่กำลังนิยมกันมากในขณะนี้คือ การเล่นเกมออนไลน์
• กลุ่มผู้ใหญ่และวัยทำงาน เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องเข้ามาใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ตเมื่ออยู่นอกสำนักงาน และต้องการหาข้อมูลเป็นการเร่งด่วน
• กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จะใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อกลับไปยังประเทศของตน
การเปิดร้านอินเตอร์เน็ตขึ้นมา เพื่อให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มใดก็ตาม ต้องดูถึงความเหมาะสมของ
ทำเลควบคู่กันไปด้วย อาทิ
- ถ้าเป็นการเปิดร้านในย่านธุรกิจ เช่น สีลม สุขุมวิท ผู้ประกอบการอาจไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมเกมต่างๆ เพียงแค่มีโปรแกรม Office, เว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Navigator,Outlook Express เพื่อรับ-ส่งอีเมล์ ติดตั้งเครื่อง printer สำหรับจัดพิมพ์รายงาน และscanner เพื่อสแกนรูปภาพตามปกติเท่านั้น เนื่องจากลูกค้ามักเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน วัตถุประสงค์การใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับงาน ติดต่อธุรกิจทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต
- ถ้าทำเลอยู่ในย่านแหล่งท่องเที่ยว กลุ่ม ลูกค้าจะเป็นชาวต่างชาติที่เน้นด้านรับ-ส่ง อีเมล์เพื่อติดต่อกลับยังประเทศตน รวมถึงค้นหาข้อมูลบางอย่างด้วย ผู้ประกอบการอาจได้กำไรมากสักหน่อย เพราะการเรียกเก็บค่าชั่วโมงหรือนาทีอยู่ในอัตราที่สูงกว่าคนไทยแต่ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงความรวดเร็วของระบบอินเตอร์เน็ต ดังนั้น จะเห็นได้ว่ารูปแบบการใช้บริการทั้งของกลุ่มคนทำงานและชาวต่างชาติค่อนข้างคล้ายคลึงกัน
- หากทำเลที่ตั้งใกล้กับแหล่งชุมชน กลุ่มที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ
นักเรียนนักศึกษา และถ้าผู้ประกอบการคิดจะให้บริการคนกลุ่มนี้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญแก่โปรแกรมสำหรับพิมพ์งานทั่วไป เช่น Word , Excel และโปรแกรมที่เป็นที่นิยม อาทิ โปรแกรมประเภท Chat เช่น ICQ ,Net Meeting เป็นต้น รวมถึงโปรแกรมเกมใหม่ๆ เพื่อเป็นการดึงดูดใจลูกค้า
- แต่ถ้าเปิดร้านในย่านที่ไม่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายตายตัวได้ เช่นใกล้กับห้างสรรพสินค้า หอพัก อพาร์ทเม้นท์ ผู้ประกอบการก็ควรให้บริการลูกค้าหลายกลุ่มหลายรูปแบบ ทั้งอินเตอร์เน็ตและเกม
แม้ว่าผู้ประกอบการจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายคร่าวๆได้จากทำเล แต่ปัจจุบันร้านอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะเน้นการให้บริการเกมเป็นหลัก ถึงขนาดเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นร้านเกมโดยเฉพาะ เพื่อเจาะกลุ่มเด็กชั้นประถมถึงมัธยมที่มักชวนกันมาเล่นเป็นกลุ่มทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เข้าร้านเป็นกอบเป็นกำ ทั้งๆที่การให้บริการเกมเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบการต้องคอยแสวงหาโปรแกรมเกมใหม่ๆ การซื้อลิขสิทธิ์จากบริษัทที่ผลิตเกม และยังต้องขออนุญาตกองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติรวมถึงการเสียค่าใช้จ่ายในการอัพเกรดฮาร์ดแวร์ อยู่ตลอดเพื่อให้เครื่องมีความเร็วและความแรง ดังนั้น ผู้ประกอบการที่คิดจะเปิดร้านอินเตอร์เน็ตเพื่อบริการเกมเท่านั้น ควรประเมินความคุ้มค่าที่ได้รับก่อน
3.3 ธุรกิจหลักของร้านให้บริการอินเตอร์เน็ต
คือ การให้บริการประเภทต่างๆผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อันได้แก่ บริการท่องเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล บริการรับส่งอีเมล์ บริการส่งข้อความโต้ตอบกันรวมถึงบริการด้านงานพิมพ์เอกสารและบริการการเกม
ส่วนธุรกิจเสริมที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้ควบคู่ไปกับการทำร้านอินเตอร์เน็ต คือ
- การบริการอาหารและเครื่องดื่มภายในร้าน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า
- การเปิดสอนคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กนักเรียน หรือบุคคลทั่วไป
- บริการรับพิมพ์งาน สำหรับนิสิตนักศึกษาที่ไม่มีเวลาพิมพ์รายงานเอง ธุรกิจเสริมตัวนี้สามารถทำเงินให้แก่ร้านได้ไม่น้อย
- บริการเคลือบบัตร ถ่ายเอกสาร
- ในกรณีที่ร้านมีบริการเกม ผู้ประกอบการอาจให้ลูกค้าเช่าซีดีเกม หนังสือวิธีการเล่นเกม ด้วยอัตราค่าเช่าที่ไม่แพง
- รับซ่อม อัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์และให้คำปรึกษาแนะนำแก่ลูกค้าเมื่อมีปัญหา
3.4. ส่วนผสมทางการตลาด
โปรแกรมคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์ในร้านควรมีโปรแกรมต่างๆ เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า เช่นโปรแกรมออฟฟิศ บราวเซอร์ ไอซีคิว อีเมล์และโปรแกรมเกมใหม่ๆ รวมถึงอินเตอร์เน็ตควรมีความเร็วพอสมควร ซึ่งขึ้นอยู่กับ ISP ที่เลือกใช้ การติดตั้งโมเด็มและสายโทรศัพท์ ที่มีจำนวนเหมาะสมกับการใช้งาน และจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์
ด้านราคา
ผู้ประกอบการต้องดูความสมเหตุสมผลในการกำหนดราคา กล่าวคือ ผู้ประกอบการต้องดูต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมด เช่น ราคารายชั่วโมงที่ร้านอินเตอร์เน็ตซื้อกับบริษัท ISP ไม่ว่าจะเป็นบริษัท LOXINFO , KSC , A-Net , Samart Infonet , อินโฟนิวส์ เป็นต้น ราคาค่าชั่วโมงจะตกอยู่ราวชั่วโมงละ15 บาท หรืออาจซื้อในรูปแบบของแพคเกจต่อเดือนเมื่อมาคิดเป็นรายชั่วโมง ราคาจะถูกกว่าราวชั่วโมงละ 6-8 บาท
และเนื่องจากระบบของร้านบริการทางอินเตอร์เน็ตทั่วไป มักใช้แบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ( Internet Sharing ) คือแทนที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวจะต้องมีโมเด็ม มีหมายเลขโทรศัพท์และมีaccountทุกเครื่องผู้ประกอบการสามารถยุบรวมโมเด็ม หมายเลขโทรศัพท์และaccount ให้เหลือเพียงอย่างละชุดได้ ดังนั้นถ้าใช้เพียง 1 account ( เลขทะเบียนการใช้อินเตอร์เน็ต )ในการเชื่อมต่อกับ ISP ผู้ประกอบการก็สามารถให้บริการลูกค้าได้หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน เช่น ถ้ามีคอมพิวเตอร์ที่เปิดให้บริการ 15 เครื่อง และมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเต็มทุกเครื่อง ต้นทุนต่อเครื่องจะเหลือแค่ 1 บาท ผู้ประกอบการจะได้กำไรประมาณ 14 บาทต่อเครื่องต่อชั่วโมง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการต้องไม่ลืมหักค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนอุปกรณ์ชุดพ่วงอินเตอร์เน็ตราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ ค่าลิขสิทธิ์รวมถึงค่าบำรุงรักษา อีกทั้งค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องดูถึงการกำหนดราคาตามตลาดของร้านที่เปิดในบริเวณใกล้เคียงกัน หรือราคามาตรฐานของร้านอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ การคิดค่าเวลาของร้านอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีตั้งแต่ชั่วโมงละ15 บาท 20 บาท 25 บาทขึ้นไป หรือคิดซอยเป็นนาที เช่น 15 นาทีคิด 5 บาท ครึ่งชั่วโมงคิด 10 บาท สำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเพียงแค่เช็คเมล์ หรือพิมพ์งานเล็กๆน้อยๆ
ทำเลและการจัดบรรยากาศภายในร้าน
ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันทำเลที่ดีได้แก่ ทำเลที่ติดริมถนนใหญ่ อยู่ในแหล่งชุมชน ไม่ว่าจะเป็นหน้าโรงเรียน มหาวิทยาลัย ตลาด ภายในห้างสรรพสินค้า บริเวณรอบๆโรงภาพยนตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้จะเปิดร้านอินเตอร์เน็ตควรพิจารณาว่ามีร้านประเภทเดียวกันเปิดอยู่ก่อนหรือไม่ ถ้ามี ผู้ประกอบการต้องคำนึงต่อว่า ลูกค้าควรมีจำนวนมากพอสมควร จนไม่เกิดการแข่งขันด้านราคาขึ้น
การตกแต่งภายในร้านถือเป็นจุดดึงดูดลูกค้าได้เช่นเดียวกัน คือผู้ประกอบการควรจัดร้านให้โล่งโปร่งสบาย สะอาดสวยงาม อาจมีของประดับเล็กๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ติดโปสเตอร์ที่มีสีสันสบายตาไว้ที่ผนัง วางกระถางต้นไม้ไว้มุมห้อง สิ่งเหล่านี้จะช่วยผ่อนคลายสายตาที่เมื่อยล้าจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นานเกินไปได้
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรจัดสรรปันส่วนพื้นที่ระหว่างผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตและผู้เข้ามาเล่นเกมเพราะจุดประสงค์การเข้ามาใช้บริการมีความแตกต่างกันอยู่ คือผู้เข้ามาใช้อินเตอร์เน็ตจะต้องการความเป็นส่วนตัวและความสงบเงียบ ต่างจากผู้ที่เข้ามาเล่นเกมมักจะมีเสียงดังจากเกมหรือจากผู้เล่น ดังนั้นวิธีการแก้ไขอาจทำได้ทั้งการกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน การบริการหูฟังแก่ผู้เล่นเกม หรือใช้การแบ่งเวลาการให้บริการเป็นช่วงๆ เช่น ช่วงเย็นให้บริการเกม ตกดึกก็ให้บริการอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
แต่วิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดคือ ผู้ประกอบการต้องใช้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของร้านควบคุมสภาพการณ์ต่างๆ ภายในร้าน โดยเฉพาะเรื่องเสียงดังจากเกมและตัวผู้เล่น ผู้ประกอบการต้องเดินคุมและคอยหรี่เสียงเกมจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง หรือจะใช้เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ดังเช่น การออกกฎการใช้เครื่องว่า หากทำเสียงดัง ก็จะไม่แถมเวลาให้เล่นต่อ วิธีนี้จะช่วยรักษาลูกค้าทั้งสองกลุ่ม และถ้าทำได้ ผู้ประกอบการอาจไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์อย่าง เช่นหูฟังมาติดไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
การส่งเสริมการขาย
อาจใช้เทคนิควิธีแตกต่างกันตามความต้องการของลูกค้า เช่น
- ในกรณีกลุ่มลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ คนทำงาน นักเรียนนักศึกษา ทางร้านอาจจัดโปรโมชั่นเล่น 5 ชั่วโมง แถมฟรีอีก 1 ชั่วโมง การแถมชั่วโมงจะทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้พอใจ เพราะผู้ใช้งานต้องการเวลานานพอสมควรในการหาข้อมูล รับ-ส่งอีเมล์และสนทนาหาเพื่อน
- การให้โปรโมชั่นแก่ผู้ที่เข้ามาเล่นเกม เช่น การเล่นเกมเพื่อสะสมคะแนนไว้แลกของรางวัล
- เก็บสะสมชั่วโมงเพื่อนำมาแลกเครื่องดื่มภายในร้าน เช่น กาแฟ น้ำอัดลมต่างๆ เป็นต้น
- รับสมัครสมาชิกและเก็บค่าสมาชิก สิทธิประโยชน์ที่ผู้สมัครจะได้รับคือ ราคาค่าชั่วโมงในการใช้อินเตอร์เน็ตแต่ละครั้งจะถูกกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก เช่น เสียค่าสมาชิก 300บาทต่อปี แต่เมื่อเป็นสมาชิก การเข้าใช้อินเตอร์เน็ตจะเสียชั่วโมงละ 15 บาทจากราคาเต็มชั่วโมงละ 25 บาท เป็นต้น
- การส่งเสริมการขายในสัปดาห์แรกที่เปิด ผู้ประกอบการอาจแจกคูปองให้เล่นอินเตอร์เน็ตฟรีชั่วโมงแรกและชั่วโมงต่อไปคิดเพียงครึ่งราคา เป็นต้น
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้การส่งเสริมการขายก็คือ การให้บริการที่ดีเพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและพึงพอใจสูงสุด เพราะการดึงดูดลูกค้าโดยใช้ราคาเป็นตัวกำหนดเพียงอย่างเดียวจะทำได้ระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่ถ้าลูกค้าเชื่อมั่นต่อการบริการของร้านแล้วลูกค้าจะไม่หนีไปใช้บริการร้านอื่น ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมองถึงความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็น ความเร็วของอินเตอร์เน็ต บรรยากาศภายในร้านที่ผ่อนคลาย การจัดโต๊ะพิเศษให้ลูกค้านั่งรอเวลาเครื่องคอมพิวเตอร์มีคนใช้เต็ม พร้อมมุมหนังสือหลากหลายประเภทเพื่อความเพลิดเพลิน
3.5 ปัจจุบันสภาพการแข่งขันในตลาดของธุรกิจให้บริการทางอินเตอร์เน็ตค่อนข้างสูง
เนื่องจากการลงทุนลดต่ำลงมากกว่าแต่ก่อน จากเดิมผู้ประกอบการต้องมีเงินลงทุนกว่าสามแสนบาท ขึ้นไป แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียงสองแสนไม่เกินสามแสนบาท หรือถ้าเป็นร้านเล็กๆ อาจจะประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท การลงทุนที่ไม่สูงเกินไปนัก นับ ว่าเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้ามาลงทุน แต่ในปัจจุบัน ธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มไม่ค่อยสดใสเท่ากับที่ผ่านมา เพราะธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ตเริ่มประสบปัญหาหลายประการ ทั้งด้านการแข่งขัน ลิขสิทธิ์ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้น ถ้าคิดจะเปิดธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบการจึงควรเลือกทำเลที่ดี มีกลยุกธ์ให้ลูกค้าเข้าใช้บริการอย่างต่อเนื่อง และทำการศึกษาสภาพการณ์ต่าง ๆ อย่างลึกซิ้งเสียก่อน
4. โครงสร้างการบริการภายในร้าน
4.1 ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ที่มักใช้กับร้านอินเตอร์เน็ต คือระบบLAN ซึ่งระบบLAN หมายถึง เครือข่ายเฉพาะกลุ่มที่มีขนาดเล็ก ระยะทำการไม่ไกลนัก มักเชื่อมโยงกันด้วยความเร็วสูงอาจใช้ผ่านทางสายเคเบิลทองแดง หรือใยแก้วนำแสง เป็นต้น
- ระบบLANแบบบัส เหมาะสำหรับร้านที่มีจำนวนเครื่องลูกข่ายไม่มากนัก แต่ระบบนี้ไม่เหมาะในการใช้เล่นเกม ข้อดีของระบบนี้คือไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ Hub และSwitch มีเพียงสายเคเบิลเชื่อมต่อแบบอนุกรมยาวต่อเนื่องกันไป แต่ถ้าหากมีจุดใดจุดหนึ่งในระบบLAN เสียหาย ก็จะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ไปด้วย
- ระบบLANแบบสตาร์ นิยมใช้กันในร้านอินเตอร์เน็ตเนื่องจากการบำรุงรักษา การเพิ่มหรือถอดเครื่องออกจากระบบ สามารถทำได้ง่าย โดยดึงสายที่ต่อจากเครื่องออกจาก Hub ( อุปกรณ์การส่งข้อมูลจากเครื่องพีซีหนึ่งกระจายไปให้กับเครื่องอื่น ) หรือ Switch ( อุปกรณ์เลือกส่งข้อมูลจากเครื่องพีซีหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งที่เป็นจุดหมายปลายทางโดยตรง) โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการทำงานของระบบ ระบบนี้ยังสามารถแก้ปัญหาสายเคเบิลโดยดูจากไฟที่Hub หรือSwitchได้เลย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองระบบเครือข่ายแล้ว จะพบว่าLAN แบบสตาร์สามารถใช้งานได้ ง่ายกว่า การสร้างเครือข่ายแบบสตาร์ ผู้ประกอบการต้องมีอุปกรณ์ศูนย์กลางสำหรับเชื่อมต่อ (Hub/Switch) , การ์ดLANที่ใช้หัวต่อแบบ RJ-45สำหรับเสียบในเครื่องพีซีแต่ละเครื่องและสายUTPแบบCAT5 หรือCAT5eที่มีการเข้าหัวแบบ RJ-45 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆที่ผู้ประกอบการต้องมีอยู่แล้วคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ สายโทรศัพท์อย่างน้อย 1 คู่สาย โมเด็ม 1 ชุด (อุปกรณ์แปลงสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับสายโทรศัพท์) อุปกรณ์สำหรับแชร์อินเตอร์เน็ต
4.2 ขนาดพื้นที่ต่อจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์
ผู้ประกอบการไม่ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์จนดูแออัดเกินไป หากแต่ควรจัดให้โล่ง โปร่ง สะอาดตา เช่น ขนาดพื้นที่กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร ควรมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 8-10 เครื่อง หรือถ้าหน้าร้านกว้าง 3 เมตร ยาว 15 เมตร เครื่องคอมพิวเตอร์จะวางได้ถึง 10-15 เครื่อง การเลือกโต๊ะเก้าอี้ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะยิ่งลูกค้านั่งสบายเท่าใด ลูกค้าจะใช้เวลาในการนั่งเล่นอินเตอร์เน็ตนานขึ้นเท่านั้น
4.3 การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
เจ้าของร้านให้บริการอินเตอร์เน็ตต้องรู้แหล่งขายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้ อาจเป็นบริษัทผู้ผลิต หรือจากตัวแทนจำหน่ายทั่วไป แต่ถ้างบประมาณมีไม่เพียงพอสำหรับคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ ผู้ประกอบการอาจใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบประกอบเอง โดยหาซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบ เช่น CPU เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ จอภาพที่นิยมใช้กันคือ จอภาพขนาด 17 นิ้ว คีย์บอร์ด และ เม้าส์ เป็นต้น หรือซื้อเครื่องที่ประกอบเสร็จได้ตามแหล่งขายคอมพิวเตอร์ใหญ่ๆ คอมพิวเตอร์เหล่านี้จะมีราคาถูกกว่า คือ ตกเครื่องละประมาณ 16,000-20,000 บาทเศษๆ แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องอาศัยความรู้ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ มิฉะนั้นอาจจะได้เครื่องปลอมและสินค้าที่ไม่ดีมาแทน
วิธีการเลือกซื้อเครื่องนั้น เราควรดูถึงลักษณะการใช้งาน ร้านอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปจะเป็นการให้บริการโปรแกรมต่างๆ เช่น บราวเซอร์ อีเมล์ ไอซีคิว Word Exel ผู้ประกอบการต้องเลือกเครื่องที่มี สเป็คปานกลางไปจนถึงค่อนข้างสูง อาจเลือก Intel Celeron 700MHz ขึ้นไป หรือ AMD Duron 800MHz ขึ้นไป กับRAM64MB เป็นต้น แต่ถ้าให้บริการเกมด้วย คงต้องใช้สเป็คที่สูงกว่าบริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป คือ CPUต้องเป็น Pentium lll ความถี่ 800 MHz ขึ้นไป มีการ์ดกราฟิกแบบ 3 มิติ พร้อมซาวด์การ์ด รวมถึงหูฟังอย่างดี เป็นต้น และภายหลังจากตัดสินใจว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นใด ผู้ประกอบการต้องไม่ลืมสอบถามถึงการรับประกันสินค้านั้นๆ ด้วย
4.4 สร้างความรวดเร็วของระบบคอมพิวเตอร์
ปกติลูกค้าจะต้องการการบริการอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว ผู้ประกอบการอาจเพิ่มโมเด็มและสายโทรศัพท์ขึ้นมาอีก 1 ชุด เพื่อต่ออินเตอร์เน็ตภายใต้ Internet Account เดียวกันกับ ISP เดิมได้ หรือหากผู้ประกอบการกังวลว่า ISP ( บริษัทที่ให้บริการชั่วโมงอินเตอร์เน็ต )ใดเกิดขัดข้อง ทำให้อินเตอร์เน็ตช้าลง ผู้ประกอบการก็สามารถซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ตจาก ISP คนละค่ายกัน ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับ Internet Account ภายใต้ ISP นั้นๆ อีก1 account เพื่อต่อเข้ากับสายโทรศัพท์และโมเด็มอีกหนึ่งชุด สรุปแล้ว ร้านอินเตอร์เน็ตจะมีโมเด็มถึง 2 ชุด และอินเตอร์เน็ตจาก ISP อีก 2
4.5 การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้คอมพิวเตอร์เสียหายก่อนเวลาอันควร และโดยหลักการพื้นฐานนั้น ผู้ประกอบการควรระวังไม่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆตกแตกเสียหาย ในกรณีที่ภายในร้านได้จำหน่ายเครื่องดื่มแก่ลูกค้าผู้ประกอบการควรจัดสถานที่ให้เป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันการหกเลอะเทอะ ทำความเสียหายให้แก่เครื่องรวมถึงมีการติดตั้งโปรแกรมเพื่อป้องกันการลบข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของลูกค้าไว้ด้วยปกติแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีอายุการใช้งานนานประมาณ 3 ปี ภายหลังจากนั้นผู้ประกอบการควรทำการอัพเกรดเครื่อง แต่ส่วนที่จะเสื่อมคุณภาพก่อนคือ จอภาพและคีย์บอร์ด อุปกรณ์ เหล่านี้ ผู้ประกอบการสามารถนำไปขายเป็นสินค้ามือสอง หรืออาจนำกลับไปยังร้านประจำ เพื่อทางร้านจะได้นำสินค้าส่งไปซ่อมยังบริษัท และเปลี่ยนสินค้าตัวใหม่มาแทน
4.6 สำหรับร้านที่ผู้ประกอบการไม่ได้ดูแลเองโดยตรง
เจ้าของอาจใช้วิธีจ้างพนักงานโดยคัดเลือกจากคุณสมบัติต่างๆ เช่น ไว้ใจได้ มีความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ ตามปกติ ถ้าเป็นร้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เจ้าของอาจจ้างพนักงาน 1-2 คนก็เพียงพอ แต่ถ้าเป็นร้านที่มีคอมพิวเตอร์หลายตัว ผู้ประกอบการมักจะติดตั้งโปรแกรมคิดค่าบริการตามเวลาที่ลูกค้าใช้ไว้ในเครื่อง เช่น Netcost1.2, Time Administrator3.01, TimeCalculator Internet2.0 และ ezyTime Mananger เป็นต้น
5. การบริหารธุรกิจ
ร้านอินเตอร์เน็ต เป็นธุรกิจที่ใช้คนดูแลไม่ต้องมากนัก เพราะคนๆหนึ่งสามารถควบคุมและดูแลคอมพิวเตอร์ได้เป็นจำนวนหลายเครื่อง ดังนั้น บางร้านอาจใช้จำนวนพนักงานเพียงคนเดียวระบบการบริหารพนักงานส่วนใหญ่ จึงมักฝึกให้พนักงานสามารถทำงานได้หลายๆ หน้าที่ เช่น สามารถพิมพ์งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จับเวลาเพื่อเก็บค่าบริการจากลูกค้ารวมถึงดูแลสภาพความเรียบร้อยภายในร้าน
หากสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรใส่ใจในเรื่องการบริหารบุคลากร คือ การอาจจัดฝึกอบรมความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้กับพนักงานดูแลร้าน เพราะวิธีนี้ จะเป็นการช่วยพัฒนาความรู้ให้กับพนักงาน และเมื่อลูกค้าประสบปัญหาด้านคอมพิวเตอร์ขณะใช้เครื่อง หรือเมื่อคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องเพียงเล็กน้อยพนักงานจะสามารถดำเนินการแก้ไขได้เอง
6. การเงิน
การหาแหล่งเงินทุนเพื่อตั้งร้าน ผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต มีทั้งการใช้เงินทุนของตนเอง และการกู้เงินในระบบทั่วไป ทว่า หากใช้ประการหลัง ผู้ประกอบการต้องคำนวณเพิ่มในเรื่องต้นทุนด้านดอกเบี้ยด้วยธุรกิจนี้ ถ้าผู้ประกอบการมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การชำระหนี้และการคืนทุนก็จะใช้เวลาไม่นานนัก
6.1 โครงสร้างต้นทุนวงเงินเริ่มต้น
สัดส่วนของต้นทุน ส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปยังค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นเปิดร้าน โดยช่วงเริ่มต้น ผู้ประกอบการอาจต้องลงทุนสูงทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ค่าติดตั้งโทรศัพท์ ค่าเช่าที่ (กรณีไม่ได้เปิดร้านในที่ของตน) ตลอดจนโต๊ะวางคอมพิวเตอร์ เก้าอี้ เครื่องปรับอากาศ ค่าใช้จ่ายต่างๆในการตกแต่งร้านค่าชั่วโมงอินเตอร์เน็ตที่ต้องจ่ายรายเดือนและรายจ่ายด้านการประชาสัมพันธ์ในช่วงเปิดร้านใหม่เงินลงทุนที่สามารถจะดำเนินกิจการได้ตกอยู่ราว 200,000-300,000 บาทต้นๆ ขึ้นกับรุ่นของคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันตามแต่การใช้งาน เช่น
- ร้านขนาดเล็กสามารถวางคอมพิวเตอร์ได้น้อยกว่า 10 เครื่อง
- ร้านขนาดกลางสามารถวางคอมพิวเตอร์ได้11-20 เครื่อง
- ร้านขนาดใหญ่สามารถวางคอมพิวเตอร์ได้มากกว่า 20 เครื่องขึ้นไป
งบประมาณในการลงทุน อาจแบ่งได้เป็น
• ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตและลิขสิทธิ์ต่างๆประมาณ 80 %
ร้านขนาดเล็ก (พื้นที่ประมาณ 4 * 8 เมตร)
ร้านขนาดกลาง (พื้นที่ประมาณ 4 * 15 เมตร)
ร้านขนาดใหญ่ (ขึ้นกับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์)
- ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ 6-10 เครื่อง เป็นเงิน 100,000-180,000 บาท ถ้ามีคอมพิวเตอร์มากกว่า10 เครื่อง คิดเป็นเงิน 180,000-250,000 บาท และคอมพิวเตอร์ 20-50 เครื่องขึ้นไปการลงทุนอาจสูงถึง 1,500,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์Hubประมาณ 2,000-7,000 บาท โมเด็มประมาณ 1,200 บาท สายโทรศัพท์ของTA 6,000 บาท อุปกรณ์แชร์อินเตอร์เน็ตประมาณ 20,000-25,000 บาท สายเน็ตเวิร์คประมาณ 400 บาท สายUTPและหัวRJ-45 ราคาไม่เกิน 30 บาท เป็นต้น
- เครื่องปริ๊นเตอร์ประมาณ 4,000 บาทขึ้นไป และเครื่องสแกนเนอร์ 3,000-8,000 บาท ( แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ )
- ค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมต่อเครื่อง อาทิ วินโดว์95/98/ME/XP/2000 ราคา 3,000บาทขึ้นไปต่อเครื่องแต่ถ้าวินโดว์NT กรณีเป็น Server ประมาณ 30,000บาทต่อเครื่อง โปรแกรมออฟฟิศประมาณ 24,000 บาทต่อเครื่อง ไมโครซอฟท์เวิร์ด 2000โปรแกรมละ 2,400 บาทต่อเครื่อง เป็นต้น ส่วนราคาโปรแกรมเกมจะอยู่ที่ 300-3,600 บาท ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีเกณฑ์ในการขายลิขสิทธิ์แตกต่างกันไป เช่น เกมCounter-Strike , Diablo และStarcraft เป็นของบริษัทBm Media ผู้ที่คิดลงทุนต้องสั่งซื้อโปรแกรมเกมตามจำนวนคอมพิวเตอร์คือ 1 ชุดต่อ 1 เครื่อง ส่วนบริษัท E.A. (Thailand) ที่ผลิตเกม Red Alert2 ผู้ซื้อจะต้องซื้อลิขสิทธิ์จำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนเครื่องที่มีอยู่ในร้าน เช่น มีคอมพิวเตอร์ 8 เครื่อง ซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์เกม 4 ชุด ตรงข้ามกับเกม Sims คือผู้ประกอบการต้องซื้อลิขสิทธิ์เกมเท่ากับจำนวนเครื่องที่ต้องการลง เป็นต้น และหลังจากการ ติดต่อซื้อขายกันแล้ว ผู้ประกอบการต้องส่งใบเสร็จรับเงินที่สั่งซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมเกมพร้อมเขียนชื่อนามสกุล หรือบางบริษัทอาจให้ส่งเอกสารที่บรรจุอยู่ในกล่องเกมของแท้กลับไปยังบริษัท หลังจากนั้นทางบริษัทผู้จำหน่ายจะส่งสติ๊กเกอร์มาให้ เพื่อใช้ติดหน้าร้านและติดที่กล่องซีดีเกม
• ค่าตกแต่งร้าน ค่าส่งเสริมการขายร้านและการวางระบบ ( กรณีที่เจ้าของร้านไม่สามารถวางระบบอินเตอร์เน็ตได้เอง) อีก 30 %
ค่าจ้างสำหรับวางระบบอินเตอร์เน็ตภายในร้าน
ค่าโต๊ะ เก้าอี้
พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร้าน ค่าบัตรสมาชิก ใบปลิวช่วงแนะนำร้านและของจิปาถะอื่นๆ
เงินทุนหมุนเวียนต่อเดือนควรมีประมาณ 20,000-30,000 บาท แล้วแต่ขนาดของร้านเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้
ค่าซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์
ค่าเช่าชั่วโมงอินเตอร์เน็ตรายเดือนหรือเป็นแพ็คเกจจาก ISP
ค่าเช่าที่
ค่าน้ำค่าไฟ
ค่าจ้างพนักงาน ( บางร้านผู้ประกอบการเป็นผู้ดูแลเอง )
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
6.2 ระยะเวลาการคืนทุน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ราว1-2 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน ทำเลที่ตั้ง ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ค่าบริการรายชั่วโมงที่คิดกับลูกค้า ค่าลิขสิทธิ์
และรายได้จากบริการเสริมอื่นๆ
6.3 กำไรของธุรกิจนี้ต่อเดือนประมาณ 7,000-10,000 บาท (หักดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้ว)
6.4 ผลตอบแทนที่ได้ต่อเดือนก็ไม่ควรต่ำกว่า 27,000 บาท (ในกรณีเฉลี่ยวันละ 900บาท)
6.5 วิธีการประหยัดค่าใช้จ่ายของร้านอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไป
- ใช้วิธีแชร์อินเตอร์เน็ต โดยอาศัยเทคโนโลยีของระบบLAN และอุปกรณ์สำหรับแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น คือหากผู้ประกอบการให้บริการอินเตอร์เน็ต จำนวน 10 เครื่อง ผู้ประกอบการอาจยุบโมเด็ม หมายเลขโทรศัพท์ Internet Account ลง เหลืออย่างละ1 ชุดได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของอินเตอร์เน็ต มากนัก ทั้งนี้ การยุบโมเด็มและหมายเลขโทรศัพท์ต้องอิงกับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิดให้บริการด้วย คือ ถ้าจำนวนเครื่องมากเกินไป อาจทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตช้าลงได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการอาจแก้ไขด้วยการเพิ่มจำนวนโมเด็มและหมายเลขโทรศัพท์ขึ้นอีกอย่างละหนึ่งชุด
- การติดตั้งโปรแกรมปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เองโดยอัตโนมัติ ขณะที่ยังไม่มีลูกค้าเข้ามาใช้งาน
- การเลือกใช้หลอดประหยัดไฟ
- การจัดหน้าหน้าให้โล่งสว่าง ออกแบบฝ้าให้ต่ำลงเพื่อประหยัดค่าเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
7. เงื่อนไขและข้อจำกัดที่สำคัญ
ในปัจจุบันกระแสลิขสิทธิ์ค่อนข้างจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต เพราะทำให้ต้นทุนด้านลิขสิทธิ์ของผู้ประกอบการสูงขึ้นกว่าเดิม
การแข่งขันกันตัดราคาค่าบริการเพราะผู้ประกอบการอาจเห็นว่าวิธีนี้จะช่วยดึงดูดใจลูกค้าได้ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว การแข่งขันกันลดราคาจนกระทั่งไม่เกิดกำไร จะไม่เป็นผลดีต่อความอยู่รอดของกิจการในระยะยาวดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับงานด้านบริการ เพื่อสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าแทน
ในปัจจุบันร้านอินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงเป็นร้านบริการเกมเต็มรูปแบบ การให้บริการนี้ จะมีผลดีต่อจำนวนลูกค้าที่เข้าร้านแต่มีผลลบในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการที่ต้องอัพเกรดเครื่องบ่อยๆ การแสวงหาโปรแกรมเกมใหม่ๆ การเสียค่าลิขสิทธิ์เกม
8. ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ
• ผู้ประกอบการต้องคอยพัฒนาความรู้ด้านระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรมต่างๆเพื่อนำมาปรับปรุงการบริการของร้านให้ดียิ่งขึ้น
• เสาะหากลยุทธ์การให้บริการใหม่ๆที่สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า